Computer Science

Technology are around ^^

System & Software Maintenance สิงหาคม 30, 2009

การบำรุงรักษาระบบ    (Maintenance)

การบำรุงรักษาระบบ (System maintenance) การบำรุงรักษาระบบเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งเพื่อให้ระบบทำงานได้ยอ่างต่เนื่องตามที่ต้องการ แนวทางในการบำรุงรักษาระบบนั้นที่นิยมใช้มี 4 แนวทางดังนี้ 
        1. การบำรุงรักษาเพื่อให้มีความถูกต้องเสมอ (Corrective maintenance) คือ การบำรุงรักษาและแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบที่อาจเกิดจากการออกแบบระบบ การเขียนโปรแกรม และการติดตั้งเพื่อการใช้งาน 
        2. การบำรุงรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลง (Adaptive maintenance) คือ การบำรุงรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนระบบ ตามความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและความต้องการของผู้ใช้ 

 
        3. การบำรุงรักษาเพื่อให้ระบบทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุด (Perfective maintenance) คือ  การบำรุงรักษาระบบโดยการปรับปรุงให้ระบบทำงานได้โดยมีประสิทธิภาพสูง และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ 

       

       การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ (Software maintenance) สิ่งสำคัญที่สุดในการบำรุงรักษาคือเรื่องที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ เป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมางบค่าใช้จ่ายประมาณครั้งหนึ่งของงบทั้งหมดของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ในองค์การจำนวนมากการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์จึงหันไปใช้โปรแกรม COBOL – based ข้อสรุปคือการลดค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษา การบำรุงรักษาในปัจจุบันจะมีโปรแกรมสำรเจรูปซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไป คือ 
        1. โปรแกรมปรับปรุงโครงสร้าง (Restructuring engines) คือ โปรแกรมซึ่งนำโปรแกรมโครงสร้างที่ไม่ดีออกไป และปรับปรุงเป็นโครงสร้างที่อ่านง่าน และว่ายต่อการบำรุงรักษา โปรแกรมชนิดนี้ค่อนข้างใหม่ 
        2. การใช้รหัสสร้างโปรแกรม (Code generators) เช่น การใช้ 4GL ในการแก้ข้อผิดพลาดของ 3GL เป็นต้น
        3. การใช้คลังรหัสที่นำมาใช้ใหม่ได้ (Reusable – code libraries) การใช้รหัสห้องสมุดสำหรับการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ประกอบด้วยการกำหนดรหัสที่ปลอดภัย

ประเภทของการบำรุงรักษาระบบ

1. ซ่อมบำรุงเพื่อความถูกต้อง (Corrective Maintenance)  เป็นการซ่อมบำรุงเพื่อความถูกต้องของระบบ  ดำเนินการเป็นลำดับแรกสุดหลังจากการติดตั้งโปรแกรม เพื่อติดตามสิ่งที่ผิดพลาดและแก้ไขให้ถูกต้องที่สุด

2. ซ่อมบำรุงเพื่อปรับเปลี่ยน (Adaptive Maintenance)  เป็นการบำรุงรักษาเพื่อดัดแปลงขั้นตอนการทำงานบางส่วนของระบบตามความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ในการดำเนินงาน

3. ซ่อมบำรุงเพื่อความสมบูรณ์ (Perfective Maintenance)  เป็นการบำรุงรักษาเพื่อความสมบูรณ์ของระบบ เพิ่มเติมลักษณะการทำงานบางอย่างเข้าไปให้ใช้งานง่ายกว่าเดิม หรือให้สะดวกมากขึ้น

4. ซ่อมบำรุงเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance)  เป็นการทำเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการเพิ่มความสามารถให้กับระบบ หรือเพื่อรองรับการขยายตัวของลูกค้า

 

กิจกรรมในการบำรุงรักษาระบบ 

      1.    เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ

      2.    วิเคราะห์ข้อมูลการร้องขอเพื่อการปรับปรุง

      3.     ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง

      4.     ปรับปรุงระบบ 

ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนในการบำรุงรักษาระบบ

  •        จำนวนข้อผิดพลาดที่อยู่ในระบบ  
  •        จำนวนลูกค้า
  •        คุณภาพของเอกสาร
  •        คุณภาพของทีมงานซ่อมบำรุง
  •        เครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนการซ่อมบำรุง

การจัดการการซ่อมบำรุงรักษาระบบ

  •          บุคลากรในทีมงานบำรุงรักษาระบบ
  •          การประเมินประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาระบบ  
  •          การควบคุมการร้องขอให้ปรับปรุงระบบของผู้ใช้